วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ยาอี  


ยาอี (Ecstasy) หรือยาเลิฟ

ยาอี (Ecstacy) หรือยาเลิฟเป็นสารสังเคราะห์ ที่ออกฤทธิ์ทั้งกระตุ้นประสาท (amphetamine - like) และหลอนประสาท (LSD - like) จัดอยู่ในกลุ่มยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ยาอี (Ecstasy) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ 3,4 methylenedioxy methamphetamine หรือ MDMA ส่วนยาเลิฟ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ 3,4-Methylenedioxy amphetamine หรือ MDA ซึ่งมีสูตรโครงสร้างคล้ายกับ เมทแอมเฟตามีน หรือ ยาบ้า แต่มีฤทธิ์ที่รุนแรงกว่าประมาณ 10 เท่า โดยออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท และ ทำลายเซลล์สมองที่เกี่ยวข้องกับความคิดและความจำเช่นเดียวกัน

ยาอี หรือยาเลิฟ เสพโดยการรับประทาน ในรูปแบบเม็ดหรือแคปซูล ลักษณะทั่วไปของยาอี คือจะมีเม็ดกลมแบน ด้านหนึ่งนูนหรือเรียบ หรือมีขีดแบ่งครึ่ง อีกด้านหนึ่งพิมพ์รูปภาพ หรืออักษรต่างๆ เช่นรูปดอกไม้ ผีเสื้อ การ์ตูน หรือเป็นตัวอักษรเช่น Adam, Love เป็นต้น 
ชื่อในตลาดมืด
 (Street names) 
ได้แก่ อาดัม(Adam), XTC, Essence, Love pill
Martin และคณะได้แบ่งสารที่ออกฤทธิ์หลอนประสาท (Psychedelic drugs) ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ LSD-like , Amphetamine-like และ Mixed โดย Ecstasy ถูกจัดเป็นแบบที่ 3 คือมีฤทธิ์ผสมกันระหว่าง LSD และ Amphetamine ดังนั้นเมื่อผู้ใช้ยาได้รับ Ecstasy เข้าสู่ร่างกาย ระบบประสาทส่วนกลางจะถูกกระตุ้นอย่างแรง ผู้เสพจะรู้สึกสนุกสนาน มีอารมณ์เป็นสุข และมีอาการประสาทหลอน เห็นภาพที่ผิดปกติ (Visual Illussion) ได้ยินเสียงผิดธรรมชาติ (Audiotory Hallucination) ความคิดสับสน หวาดวิตก อาการทางกายที่ปรากฎคือ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้น หายใจเร็ว นอนไม่หลับ กล้ามเนื้อกระตุก มีอาการอยู่ไม่สุข ยาจะเริ่มออกฤทธิ์หลังจากเสพเข้าไปภายในเวลา 30 - 45 นาที และมีฤทธิ์อยู่ในร่างกายได้ประมาณ 6 - 8 ชั่วโมง แล้วถูกขับออกจากร่างกายทางเหงื่อ และปัสสาวะ หมดภายในประมาณ 72 ชั่วโมง
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
 
ในสัตว์ทดลอง MDMA/MDA ออกฤทธิ์ไปทำลาย Tryptaminergic nerve terminal (ปลายประสาทที่หลั่งสาร 5-HT) ผลคือร่างกายจะขาดสาร serotonin ซึ่งร่างกายต้องใช้เวลานานในการสร้างขึ้นมาทดแทน และการสร้างทดแทนจะไม่สามารถทำให้สมบูรณ์เหมือนเดิม ผลของการขาด Serotonin จะทำให้ผู้เสพรู้สึกซึมเศร้ามากหลังจากที่ยาหมดฤทธิ์
ด้วยฤทธิ์หลอนประสาทระหว่างที่ยาออกฤทธิ์ และอาการซึมเศร้าหลังการใช้ยานี้เอง น่าจะเป็นสมมติฐานของอุบัติการฆ่าตัวตายในระหว่างการใช้ยา การใช้ MDMA/MDA ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดโรคจิต (psychosis) เช่นเดียวกับสารกระตุ้นประสาทตัวอื่นๆ
อาการเป็นพิษ
จากการเสพยาอี จะแสดงออกทางระบบประสาท คือทำให้เกิดอาการประสาทหลอน เห็นภาพและได้ยินเสียงหลอน ผู้ที่เสพยาจะมีอุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นอย่างมาก เกิดอาการผิดปกติของกล้ามเนื้อและไต เป็นโรคจิตแบบหลงผิด (paranoia) ความคิดสับสน ซึมเศร้า วิตกกังวล คลื่นไส้ ตาพร่ามัว เหงื่อออกมาก
ถ้าได้รับเกินขนาดจะมีอาการหัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อเกร็งตัว ตื่นตกใจกลัว ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจมีอาการชักหรือหมดสติ ระบบหายใจล้มเหลว ช็อค และเสียชีวิตได้
บทกำหนดโทษ - ผู้ใดผลิต นำเข้า หรือส่งออก ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาท ถึงห้าล้านบาท
- ผู้เสพ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน - 3 ปี หรือปรับตั้งแต่10,000 - 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น