วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


ตารางที่ 1 บทกำหนดโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522

ยาเสพติดให้โทษในประเภท 1

ความผิด
บทกำหนดโทษ
มาตรา
 • ผลิต นำเข้า หรือส่งออก อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 15
จำคุกตลอดชีวิต
และปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาท ถึงห้าล้านบาท
มาตรา 65 วรรค 1
 • ผลิต นำเข้า หรือส่งออก อันเป็นการกระทำเพื่อจำหน่าย
ประหารชีวิต
มาตรา 65 วรรค 2
 • ผลิตโดยการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุ และมีปริมาณยาเสพติดไม่ถึงปริมาณที่กำหนด ตามตารางที่ 1.1
จำคุกตั้งแต่ 4 ปี - 15 ปี
หรือปรับตั้งแต่ 80,000 - 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 65 วรรค 3
 • ผลิตโดยการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุ และมีปริมาณยาเสพติดไม่ถึงปริมาณที่กำหนด ตามตารางที่ 1.1 เป็นการกระทำเพื่อจำหน่าย
จำคุกตั้งแต่ 4 ปี - ตลอดชีวิต
และปรับตั้งแต่ 400,000 - 5,000,000 บาท
มาตรา 65 วรรค 4
 • จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และมีปริมาณยาเสพติดไม่ถึงปริมาณที่กำหนด ตามตารางที่ 1.1
จำคุกตั้งแต่ 4 ปี - 15 ปี
หรือปรับตั้งแต่ 80,000 - 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 66 วรรค 1
 • จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์
ตั้งแต่ปริมาณที่กำหนด ตามตารางที่ 1.1  แต่
  - ไม่เกิน 20 กรัม
จำคุกตั้งแต่ 4 ปี - ตลอดชีวิต
และปรับตั้งแต่ 400,000 - 5,000,000 บาท
มาตรา 66 วรรค 2
  - เกิน 20 กรัมขึ้นไป
จำคุกตลอดชีวิต
และปรับตั้งแต่หนึ่งล้าน - ห้าล้านบาท หรือประหารชีวิต
มาตรา 66 วรรค 3
 • ครอบครอง โดยไม่ได้รับอนุญาต และมีปริมาณยาเสพติด ไม่ถึงปริมาณที่กำหนด ตามตารางที่ 1.1
จำคุกตั้งแต่ 1 ปี - 10 ปี
หรือปรับตั้งแต่ 20,000 - 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 67
 • ผู้ใดเสพ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 57
จำคุกตั้งแต่ 6 เดือน - 3 ปี
หรือปรับตั้งแต่ 10,000 - 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 91
 • ผู้ใดยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นเสพ
จำคุกตั้งแต่ 1 ปี - 5 ปี
หรือ ปรับตั้งแต่ 20,000 - 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 93/1 วรรค 1
 • ผู้ใดใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย หรือข่มขืนใจ ให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย ครอบครองเพื่อจำหน่าย หรือครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษ
ต้องระวางโทษเป็น 2 เท่าของโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้
สำหรับความผิดนั้น
มาตรา 93/2

ตารางที่ 1.1 การผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามปริมาณดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นการผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย (ตามมาตรา 15 วรรค 3)

ชื่อยาเสพติดให้โทษ
มีปริมาณคำนวณ เป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต
หรือมียาเสพติดที่มีสารดังกล่าวผสมอยู่
จำนวนหน่วยการใช้
หรือมีน้ำหนักสุทธิตั้งแต
1. เด็กซ์โตรไลเซอร์ไยด์ หรือ แอล เอส ดี
0.75 มก.ขึ้นไป
15 หน่วยการใช้ขึ้นไป
300 มก.ขึ้นไป
2. แอมเฟตามีน หรืออนุพันธ์แอมเฟตามีน
375 มก.ขึ้นไป
15 หน่วยการใช้ขึ้นไป
1.5 กรัม ขึ้นไป
3. ยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 นอกจาก (1) และ (2)
3 กรัม ขึ้นไป
-
-

ยาเสพติดให้โทษในประเภท 2

ความผิด
บทกำหนดโทษ
มาตรา
 • ผลิต นำเข้า หรือส่งออก อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 16
จำคุกตั้งแต่ 1 ปี - 10 ปี
และปรับตั้งแต่ 100,000 - 1,000,000 บาท
มาตรา 68 วรรค 1
 • ผลิต นำเข้า หรือส่งออก ซึ่งมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน
จำคุกตั้งแต่ 20 ปี - ตลอดชีวิต
และปรับตั้งแต่ 2,000,000 - 5,000,000 บาท
มาตรา 68 วรรค 2
 • ครอบครอง อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 17
จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 69 วรรค 1
 • จำหน่าย หรือครอบครองเพื่อจำหน่าย อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 17
จำคุกตั้งแต่ 1 ปี - 10 ปี
หรือปรับตั้งแต่ 20,000 - 200,000 บาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 69 วรรค 2
 • จำหน่าย หรือครอบครองเพื่อจำหน่าย ซึ่งมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึง 100 กรัม
จำคุกตั้งแต่ 3 ปี - 20 ปี
หรือปรับตั้งแต่ 60,000 - 400,000 บาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 69 วรรค 3
 • จำหน่าย หรือครอบครองเพื่อจำหน่าย ซึ่งมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ 100 กรัมขึ้นไป
จำคุกตั้งแต่ 5 ปี - ตลอดชีวิต
และปรับตั้งแต่ 500,000 - 5,000,000 บาท
มาตรา 69 วรรค 3
 • ผู้ได้รับใบอนุญาตจำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง ตามมาตรา 17 กระทำการฝ่าฝืนตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง หรือวรรคสาม
จำคุกไม่เกิน 5 ปี
และปรับไม่เกิน 100,000 บาท
มาตรา 69 วรรค 4
 • ผู้ใดเสพ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 58
จำคุกตั้งแต่ 6 เดือน - 3 ปี
หรือปรับตั้งแต่ 10,000 - 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 91
 • ผู้ใดใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด ให้ผู้อื่นเสพ
จำคุกตั้งแต่ 1 ปี - 10 ปี
และปรับตั้งแต่ 100,000 - 1,000,000 บาท
มาตรา 93
 • ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นเสพ
จำคุกตั้งแต่ 1ปี - 5 ปี
หรือปรับตั้งแต่ 20,000 - 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 93/1 วรรค 1

ยาเสพติดให้โทษประเภท 3

ความผิด

บทกำหนดโทษ

มาตรา

 • ผลิต หรือนำเข้า โดยมิได้รับอนุญาต
อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 20
จำคุกตั้งแต่ 1 ปี - 3 ปี
และปรับตั้งแต่ 100,000 - 300,000 บาท
มาตรา 70
 • จำหน่าย ครอบครองเพื่อจำหน่าย หรือส่งออก โดยมิได้รับอนุญาต โดยมีจำนวนยาเสพติดให้โทษ ไม่เกินที่กำหนดตาม มาตรา 20 วรรค 4
จำคุกไม่เกิน 1 ปี
หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 71 วรรค 1
 • จำหน่าย ครอบครองเพื่อจำหน่าย หรือส่งออก โดยมิได้รับอนุญาต โดยมีจำนวนยาเสพติดให้โทษ เกินจำนวนตามมาตรา 20 วรรค 4 
จำคุกไม่เกิน 2 ปี
และปรับไม่เกิน 200,000 บาท
มาตรา 71 วรรค 2
 • นำเข้า หรือส่งออก อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 22
(ผู้รับอนุญาตจะต้องได้รับใบอนุญาตทุกครั้ง ที่มีการนำเข้า หรือส่งออก)
จำคุกไม่เกิน 1 ปี
และปรับไม่เกิน 100,000 บาท
มาตรา 72
 • ผลิต นำเข้า หรือส่งออก ซึ่งยาปลอม อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 39(1)
จำคุกตั้งแต่ 3 ปี - 20 ปี
และปรับตั้งแต่ 300,000 - 2,000,000 บาท
มาตรา 82
 • จำหน่ายซึ่งยาปลอม อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 39(1)
จำคุกไม่เกิน 5 ปี
และปรับไม่เกิน 500,000 บาท
มาตรา 83
 • ผลิต นำเข้า หรือส่งออก ซึ่งยาผิดมาตรฐาน หรือเสื่อมคุณภาพ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 39(2) หรือ (3)
จำคุกไม่เกิน 3 ปี
หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 84
 • จำหน่ายซึ่งยาผิดมาตรฐาน หรือเสื่อมคุณภาพ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 39(2) หรือ (3)
จำคุกไม่เกิน 1 ปี
หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 85
 • ผลิต นำเข้า หรือส่งออก ซึ่งยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา หรือเพิกถอนทะเบียนตำรับยา อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 39(4) หรือ (5)
จำคุกไม่เกิน 5 ปี
และปรับไม่เกิน 500,000 บาท
มาตรา 86
 • จำหน่ายยาที่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา หรือเพิกถอนทะเบียนตำรับยา อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 39(4) หรือ (5)
จำคุกไม่เกิน 3 ปี
และปรับไม่เกิน 300,000 บาท
มาตรา 87
 • ผู้รับอนุญาตฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวง ตามมาตรา 20
ผู้อนุญาตโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ มีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ โดยมีกำหนดครั้งละไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน
มาตรา 52

ยาเสพติดให้โทษในประเภท 4

ความผิด
บทกำหนดโทษ
มาตรา
 • ผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 26
จำคุกตั้งแต่ 1 ปี - 10 ปี
และปรับตั้งแต่ 20,000 - 200,000 บาท
มาตรา 73 วรรค 1
 • ผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย
ตั้งแต่ 10 กิโลกรัมขึ้นไป
จำคุกตั้งแต่ 1 ปี - 15 ปี
และปรับตั้งแต่ 100,000 - 1,500,000 บาท
มาตรา 73 วรรค 2
 • ครอบครอง
จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 74

ยาเสพติดให้โทษในประเภท 5

ความผิด
บทกำหนดโทษ
มาตรา
 • ผลิต นำเข้า หรือส่งออก อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 26
จำคุกตั้งแต่ 2 ปี - 15 ปี
และปรับตั้งแต่ 200,000 - 1,500,000 บาท
มาตรา 75 วรรค 1
 • ผลิต นำเข้า หรือส่งออกพืชกระท่อม
จำคุกไม่เกิน 2 ปี
และปรับไม่เกิน 200,000 บาท
มาตรา 75 วรรค 2
 • ครอบครอง
จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 76 วรรค 1
 • ครอบครองพืชกระท่อม
จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 76 วรรค 2
 • จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยมีจำนวนไม่ถึง 10 กิโลกรัม
จำคุกตั้งแต่ 2 ปี - 10 ปี
หรือปรับตั้งแต่ 40,000 - 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 76/1 วรรค 1
 • จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยมีจำนวนตั้งแต่ 10 กิโลกรัมขึ้นไป
จำคุกตั้งแต่ 2 ปี - 15 ปี
และปรับตั้งแต่ 200,000 -1,500,000 บาท
มาตรา 76/1 วรรค 2
 • จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่ายพืชกระท่อม โดยมีจำนวนไม่ถึง 10 กิโลกรัม
จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 76/1 วรรค 3
 • จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่ายพืชกระท่อม โดยมีจำนวนตั้งแต่ 10 กิโลกรัมขึ้นไป
จำคุกไม่เกิน 2 ปี
และปรับไม่เกิน 200,000 บาท
มาตรา 76/1 วรรค 4
 • ผู้ใดเสพ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 57
จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 92 วรรค 1
 • ผู้ใดเสพพืชกระท่อม
จำคุกไม่เกิน 1 เดือน
หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท
มาตรา 92 วรรค 2
 • ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นเสพ
จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 93/1 วรรค 2
บทกำหนดโทษนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งจากหนังสือ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545
ยาอี  


ยาอี (Ecstasy) หรือยาเลิฟ

ยาอี (Ecstacy) หรือยาเลิฟเป็นสารสังเคราะห์ ที่ออกฤทธิ์ทั้งกระตุ้นประสาท (amphetamine - like) และหลอนประสาท (LSD - like) จัดอยู่ในกลุ่มยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ยาอี (Ecstasy) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ 3,4 methylenedioxy methamphetamine หรือ MDMA ส่วนยาเลิฟ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ 3,4-Methylenedioxy amphetamine หรือ MDA ซึ่งมีสูตรโครงสร้างคล้ายกับ เมทแอมเฟตามีน หรือ ยาบ้า แต่มีฤทธิ์ที่รุนแรงกว่าประมาณ 10 เท่า โดยออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท และ ทำลายเซลล์สมองที่เกี่ยวข้องกับความคิดและความจำเช่นเดียวกัน

ยาอี หรือยาเลิฟ เสพโดยการรับประทาน ในรูปแบบเม็ดหรือแคปซูล ลักษณะทั่วไปของยาอี คือจะมีเม็ดกลมแบน ด้านหนึ่งนูนหรือเรียบ หรือมีขีดแบ่งครึ่ง อีกด้านหนึ่งพิมพ์รูปภาพ หรืออักษรต่างๆ เช่นรูปดอกไม้ ผีเสื้อ การ์ตูน หรือเป็นตัวอักษรเช่น Adam, Love เป็นต้น 
ชื่อในตลาดมืด
 (Street names) 
ได้แก่ อาดัม(Adam), XTC, Essence, Love pill
Martin และคณะได้แบ่งสารที่ออกฤทธิ์หลอนประสาท (Psychedelic drugs) ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ LSD-like , Amphetamine-like และ Mixed โดย Ecstasy ถูกจัดเป็นแบบที่ 3 คือมีฤทธิ์ผสมกันระหว่าง LSD และ Amphetamine ดังนั้นเมื่อผู้ใช้ยาได้รับ Ecstasy เข้าสู่ร่างกาย ระบบประสาทส่วนกลางจะถูกกระตุ้นอย่างแรง ผู้เสพจะรู้สึกสนุกสนาน มีอารมณ์เป็นสุข และมีอาการประสาทหลอน เห็นภาพที่ผิดปกติ (Visual Illussion) ได้ยินเสียงผิดธรรมชาติ (Audiotory Hallucination) ความคิดสับสน หวาดวิตก อาการทางกายที่ปรากฎคือ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้น หายใจเร็ว นอนไม่หลับ กล้ามเนื้อกระตุก มีอาการอยู่ไม่สุข ยาจะเริ่มออกฤทธิ์หลังจากเสพเข้าไปภายในเวลา 30 - 45 นาที และมีฤทธิ์อยู่ในร่างกายได้ประมาณ 6 - 8 ชั่วโมง แล้วถูกขับออกจากร่างกายทางเหงื่อ และปัสสาวะ หมดภายในประมาณ 72 ชั่วโมง
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
 
ในสัตว์ทดลอง MDMA/MDA ออกฤทธิ์ไปทำลาย Tryptaminergic nerve terminal (ปลายประสาทที่หลั่งสาร 5-HT) ผลคือร่างกายจะขาดสาร serotonin ซึ่งร่างกายต้องใช้เวลานานในการสร้างขึ้นมาทดแทน และการสร้างทดแทนจะไม่สามารถทำให้สมบูรณ์เหมือนเดิม ผลของการขาด Serotonin จะทำให้ผู้เสพรู้สึกซึมเศร้ามากหลังจากที่ยาหมดฤทธิ์
ด้วยฤทธิ์หลอนประสาทระหว่างที่ยาออกฤทธิ์ และอาการซึมเศร้าหลังการใช้ยานี้เอง น่าจะเป็นสมมติฐานของอุบัติการฆ่าตัวตายในระหว่างการใช้ยา การใช้ MDMA/MDA ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดโรคจิต (psychosis) เช่นเดียวกับสารกระตุ้นประสาทตัวอื่นๆ
อาการเป็นพิษ
จากการเสพยาอี จะแสดงออกทางระบบประสาท คือทำให้เกิดอาการประสาทหลอน เห็นภาพและได้ยินเสียงหลอน ผู้ที่เสพยาจะมีอุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นอย่างมาก เกิดอาการผิดปกติของกล้ามเนื้อและไต เป็นโรคจิตแบบหลงผิด (paranoia) ความคิดสับสน ซึมเศร้า วิตกกังวล คลื่นไส้ ตาพร่ามัว เหงื่อออกมาก
ถ้าได้รับเกินขนาดจะมีอาการหัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อเกร็งตัว ตื่นตกใจกลัว ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจมีอาการชักหรือหมดสติ ระบบหายใจล้มเหลว ช็อค และเสียชีวิตได้
บทกำหนดโทษ - ผู้ใดผลิต นำเข้า หรือส่งออก ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาท ถึงห้าล้านบาท
- ผู้เสพ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน - 3 ปี หรือปรับตั้งแต่10,000 - 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


ประเภทของยาเสพติด


 วัตถุเสพติด หมายถึง สารเคมีหรือวัตถุใดๆ ที่มีผลต่อร่างกาย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ พฤติกรรมและทำให้เกิดการเสพติด สามารถจำแนกออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

    1.ยาเสพติดให้โทษ 
 หมายถึง สารเคมีหรือวัตถุใดๆ เมื่อรับเข้าสู่ร่างกายแล้วทำให้เกิดผลเสียต่อ ร่างกายและจิตใจ เช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพขึ้นเป็นลำดับ มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ และสุขภาพทั่วไปจะทรุดโทรม ตัวอย่างเช่น ยาบ้า เฮโรอีน โคเคน กัญชา เป็นต้น
    การแบ่งประเภทของยาเสพติดให้โทษ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ได้แบ่งยาเสพติดให้โทษออกเป็น 5 ประเภท คือ
     ประเภท 1  ยาเสพติดให้โทษร้ายแรง เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน
     ประเภท 2  ยาเสพติดให้โทษทั่วไป เช่น มอร์ฟีน โคเคน ฝิ่นยา
     ประเภท 3  ยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดให้โทษประเภท 2 เป็นส่วนผสมอยู่ด้วย ตามที่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาไว้ เช่น ยาแก้ไอผสมโคเดอีน
     ประเภท 4  สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดประเภท 1 หรือประเภท 2 เช่น อาเซติค แอนไฮไดรด์ (acetic anhydride) อาเซติล คลอไรด์ (acetyl chloride) และเอทิลลิดีนไดอะซิเตด (ethylidine diacetate)
     ประเภท 5  ยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าอยู่ในประเภท 1 ถึงประเภท 4 เช่น กัญชา พืชกระท่อม และเห็ดขี้ควาย
    2.วัตถุออกฤทธิ์ หมายถึง สารเคมีหรือวัตถุใดๆ ซึ่งมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพจิตใจ ของผู้ที่ได้รับสารเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น เคตามีน (ยาเค) อัลปราโซแลม ไดอะซีแพม เป็นต้น
     การแบ่งประเภทของวัตถุออกฤทธิ์ตาม พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มีการจัดแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
     ประเภท 1  มีอันตรายร้ายแรง มีประโยชน์ในด้านการแพทย์บ้างแต่น้อยหรือไม่มีเลย เช่นเมสคาลีน จีเฮชบี ทั้งนี้ให้รวมทั้งวัตถุที่มีชื่อทางเคมีอย่างเดียวกันแต่เรียกชื่ออย่างอื่น เกลือของวัตถุดังกล่าวและวัตถุตำรับใดๆ ที่มีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 ปรุงผสมอยู่ด้วย
     ประเภท 2  มีอันตรายมาก และมีประโยชน์น้อยในด้านการแพทย์ เช่น เซโคบาร์บิตาล เฟนเตอร์มีน ทั้งนี้รวมทั้งวัตถุที่มีชื่อทางเคมีอย่างเดียวกัน แต่เรียกชื่ออื่น เกลือของวัตถุดังกล่าว และวัตถุตำรับใดๆ ที่มีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ปรุงผสมอยู่ด้วย
     ประเภท 3  มีอันตรายมากเช่นกัน แต่ก็มีประโยชน์ในทางการแพทย์มาก เช่น เพนโตบาร์บิตาล เมโพรบาเมท ทั้งนี้รวมทั้งวัตถุที่มีชื่อทางเคมีอย่างเดียวกัน แต่เรียกชื่ออื่น เกลือของวัตถุดังกล่าว และวัตถุตำรับใดๆ ที่มีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 ปรุงผสมอยู่ด้วย
      ประเภท 4  มีอันตรายน้อย แต่ยังมีบ้าง และมีประโยชน์มากในด้านการแพทย์ เช่นไดอาซีแพม (diazepam) ฟีโนบาร์บิตาล เว้นแต่ฟีโนบาร์บิตาลที่ปรุงผสมอยู่ในตำรับยาที่มีความมุ่งหมายสำคัญ เพื่อบรรเทาอาการหอบหืด โดยมีปริมาณของฟีโนบาร์บิตาลสำหรับรับประทาน หรือสอดทางทวารหนัก ครั้งละไม่เกิน 15 มิลลิกรัม
     3. สารระเหย  หมายถึง สารประกอบอินทรีย์เคมี ที่ได้จากน้ำมันปิโตเลียมและก๊าซธรรมชาติ เป็นสารที่ระเหยได้ง่ายในอุณหภูมิห้อง สารเหล่านี้ใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมทั่วไป เช่น อะซิโตน ทินเนอร์ แลคเกอร์ กาวยาง เป็นต้น